สำหรับการทำงานการสร้างแอนิเมชั่นด้วย Motion Capture ที่ผ่านๆมาจะเห็นได้ว่า Mocap นั้น มีช่องทางการใช้ประโยชน์ที่ช่วยต่อยอดส่งเสริมงานหลายๆประเภท ในหลายๆวงการ ไล่ตั้งแต่วงการภาพยนต์แอนิเมชั่น วงการเกม การผลิตสื่อนำเสนอที่มีแอนิเมชั่นเป็นส่วนประกอบอย่างสื่อการเรียนการสอนต่างๆ ซึ่งในแต่ละประเภทงานที่ใช้ Mocap ในการสร้างงานแอนิเมชั่น มีวัตถุประสงค์การนำเสนอที่ต่างกัน บางงานเน้นความสมจริงของความธรรมชาติ การเคลื่อนไหวร่างกาย บางงานโฟกัสที่การใช้งาน Facial Mocap เพื่อเน้นการแสดงสีหน้าอารมของตัวละคร และอีกหนึ่งประเภทงานที่ความคงอาจนึกไม่ถึงก็คือการใช้งาน Mocap ที่เน้นในส่วนของการเคลื่อนไหวมือเป็นหลัก เช่น
Category: Mocap
เปิดตัว!! Rokoko Coil Pro อุปกรณ์เพิ่มประสิทธิภาพให้งาน Motion Capture
เรียกได้ว่าเพิ่งเข้าไทยมาแบบสดๆร้อนๆ กับเครื่องมือไฮเทคดีไซน์สุดล้ำที่ ที่ผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์สำหรับงาน Motion Capture จากทาง Rokoko จะต้องว้าวอย่างแน่นอน เพราะถือว่าเป็นเครื่องมือ ที่จะมาทำให้การทำงาน Motion Capture ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เรียกได้ว่าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงาน Mocap ได้ดีขึ้นอย่างมาก ซึ่งเจ้าเครื่องมือที่เรากำลังพูดถึง และจะนำมาอวดโฉมให้ได้ชมกัน ในวันนี้นั่นก็คือ ” Rokoko Coil Pro “ นั่นเอง
Clean Up Motion ปรับท่าการเคลื่อนไหวตัวละคร Rokoko x iClone8
บางครั้งระบบการบันทึก Motion Capture เองก็มีข้อจำกัดในการเก็บข้อมูลการเคลื่อนไหว หรือการเก็บการเคลื่อนไหวได้ไม่ตรงตามการเคลื่อนไหวจริง ซึ่งอาจเกิดจากซึ่งสาเหตุที่เกิดขึ้น อาจมาได้จากหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น ในการ Calibrate นักแสดงอาจยืนในท่า Pose ที่ไม่ถูกต้อง การเชื่อมต่อชุด Mocap ผ่านสัญญาณที่ไม่เสถียร การ Rig กระดูก Model ที่ไม่ได้ตำแหน่งที่ถูกต้อง สิ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้แม้แต่ใน Production ขนาดใหญ่เองก็พบเจอได้ในบางครั้งคราว ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่อาจเกิดขึ้นได้ในการทำงาน
เชื่อมต่อชุด Rokoko เพื่ออัด Mocap ผ่าน iClone 8
อย่างที่รู้กันว่าหนึ่งในฟังก์ชันที่เป็นจุดเด่นของ Rokoko นั่นก็คือการที่เราสามารถส่งข้อมูล Mocap จากชุด Rokoko Smart Suit Pro II ไปยังโปรแกรมสำหรับสร้างงานแอนิเมชั่นอื่นๆได้ หลายโปรแกรม ด้วยระบบ Live Steaming หรือการส่งข้อมูลแบบ Real-Time เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกทำงานบนโปรแกรมที่ตัวเองถนัด หรือใช้งานเป็นหลักได้ ที่ผ่านมาเราได้แชร์เทคนิค วิธีการทำงาน สำหรับการเชื่อมต่อไปยังโปรแกรมสำหรับการสร้างงานแอนิเมชั่นอื่นๆ ให้ดูกันก็หลายโปรแกรม อย่างเช่น Blender
สร้างท่าเดินสุดเก๋าให้ตัวละครในเกมด้วย Motion Capture
หลังจากที่คราวที่แล้วเราได้แชร์เทคนิคและไอเดียเกี่ยวกับการนำ Motion Capture มาใช้ในงานเกมให้เห็นกันไปแล้ว ว่าสามารถนำมาใช้ช่วยลดกระบวนการทำงานในส่วนของการ Animate ท่าทางของตัวละครได้ดีเลยทีเดียว ( อ่านบทความก่อนหน้านี้ได้ที่นี่ ) ซึ่งแน่นนอนว่า Animation ในเกมนั้นมีเยอะมาก เรียกได้ว่า แทบจะตลอดเวลาของการดำเนินเกมเลย ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ นั่นก็คือ แอนิเมชั่นที่เป็นท่าทางต่างๆ เช่น การเตะ การต่อย การฟัน การยิง
อัด Mocap เพื่อสร้าง Loop Animation สำหรับท่าทางการเคลื่อนที่ของตัวละครในเกม
ถ้าพูดถึงตัวละครในเกมที่ถือว่าเป็นที่ถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางของเกมและเป็นส่วนสำคัญอันดับหนึ่ง แต่ส่วนที่สำคัญที่รองลงมาและจะขาดไปไม่ได้ เพราะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้เล่นได้รับรู้ และมีปฏิสัมพันธ์กับตัวเเกม นั่นก็คือท่าทางการเคลื่อนไหวของตัวละคร เช่น การเดิน การวิ่ง คลาน กระโดด หรือแม้กระทั่ง การที่ตัวละครไม่ได้ทำอะไรเลย ก็ยังมีท่าพักของตัวละคร จะเห็นได้ว่า ท่าทางการเคลื่อนไหวของตัวละคร มีเป็นส่วนประกอบอยู่ตลอดเวลาของการดำเนินเกม ซึ่งการ Animate หรือการทำให้ตัวละครเคลื่อนไหวนั้น ก็ไม่ใช่ว่าจะสร้างการเคลื่อนไหวยาวทั้งตัวเกม แต่จะสร้างการเคลื่อนไหวที่สามารถเล่นวนลูปได้ยาว ไปเรื่อยๆไม่รู้จบ หรือเรียกว่า ” Loop
อัด Mocap เพื่อสร้างท่าทางตัวละครใน Game
ใครว่าการบันทึก Motion Capture ใช้ได้กับงานภาพยนตร์หรือแอนิเมชั่นได้อย่างเดียว ? แต่ที่จริงแล้วยังมีอีกหนึ่งงานที่เราสามารถนำตัว Mocap นี้มาประยุกต์ใช้เพื่อย่นระยะเวลาการทำงาน ให้เร็วขึ้นได้ ซึ่งงานที่เรากำลังพูดถึงนั่นก็คืองาน “ Game ” ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่างาน Game เกี่ยวอะไรกับงานด้านการเคลื่อนไหวอย่าง Motion Capture ? โดยถึงแม้ว่าเกมจะประกอบไปด้วย โครงสร้างหลักๆที่เป็น Coding หรือชุดคำสั่งทางคอมพิวเตอร์ต่างๆมากมาย และ Model
Export Meta Human ไปยัง Blender สำหรับทำ Mocap Live Steaming
ในยุคที่สื่อออนไลน์กำลังเฟื่องฟูอย่างมากนี้ หนึ่งในงานที่ Mocap ถูกนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างดีและกำลังเติบโตและเป็นที่นิยมขึ้นเรื่อยๆ นั่นก็คือการทำ ” Vtuber “ หรือการแสดงท่าทาง ผ่านตัวละครอวตาร์ 3 มิติ โดยการถ่ายทอดสดหรือเรียกว่า Live Steaming ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ เช่น Youtube, Facebook, Twitch หรือ platform Live Steaming อื่นๆ
เปิดห้องเรียนนวัตกรรม Motion Capture มรภ.เทพสตรี จังหวัดลพบุรี
วันนี้ Dfine Digital Reality ได้มีโอกาสมาส่งมอบความรู้กันนอกสถานที่อีกครั้ง วันนี้เรามาที่จังหวัดที่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 2 ชั่วโมงและเป็นจังหวัดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครอีกด้วย ซึ่งนั้นก็คือจังหวัดลพบุรีนั่นเองครับ โดยวัตถุประสลค์ของการมาในครั้วนี้คือ มาสอนน้องๆ ของคณะเทคโนโลยีสาระสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี ได้รู็จักกับอุปกรณ์ Motion Capture และทดลองใช้งานกันแบบจริงจัง ซึ่งบรรยากาสในการเรียนการสอนนั้น เต็มไปด้วยความสนุกสนามและ ได้รับความร่วมมือจาก คณาจารย์ และน้องๆ นักศึกษาของคณะที่ให้ความสนใจและกล้าถามในจุดที่สนใจต่างๆ โดยเราได้เริ่มสอนทั้งในส่วนของการสวมใส่
แสดง MOCAP แบบสดๆในโปรแกรม Blender ผ่านระบบ Live Streaming
อย่างที่หลายๆคนรู้กันว่าการบันทึก Motion Capture คือหนึ่งในอุปกรณ์ Input ที่ใช้เก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวของนักแสดงในการสร้างงานภาพยนตร์หรือ Animation ซึ่งเมื่อเราได้ข้อมูลการเคลื่อนไหว หรือไฟล์ Mocap มาแล้ว จะต้องมีการส่งไฟล์นั้นๆ ไปใส่ในตัวละครที่เราเตรียมไว้แล้ว ( Re-Target Animation ) เราถึงจะเห็นว่าตัว Animation หรือการเคลื่อนไหว กับตัวละครที่เรามีความราบลื่นดีมั้ย รวมถึงจุดบกพร่องต่างๆที่อาจเกิดขึ้นของการเคลื่อนไหว แต่ที่จริงแล้วเราสามารถดูความเคลื่อนไหวของตัวละครของเราที่ได้รับข้อมูลมาจากชุด Mocap Suit